วิธีการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียง

ในทางการแพทย์แล้ว อาการนอนติดเตียงหมายถึงการที่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะพอที่จะขยับตัวได้บ้าง แต่ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่น ๆ ได้เลย โดยอาจมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงอาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ นอกจากนี้แล้ว การนอนติดเตียงยังเป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมายซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดการขาดอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ

และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงที่ต้องมาดูแลกันเองที่บ้าน ผู้ที่หน้าที่ดูแลป่วยจึงมีความสำคัญที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงจึงมีวิธีที่ผู้ดูแลควรรู้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ฟื้นฟูตัวเองพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ป่วยจากการโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ซึ่งผู้ดูแลแลพึงเอาใจใส่ผู้ป่วยในเรื่องต่อไปนี้

  1. การนอนผู้ป่วยนอนติดเตียงจะไม่สามารถพลิกตัวเองได้ และหากต้องนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับ ซึ่งในระยะแรกอาจจะทำให้ลอกแค่ผิว แต่พอนานวันเข้าก็อาจลอกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรืออาจถึงชั้นกระดูกเลยทีเดียว และหากร่างกายปราศจากผิวปกคลุมแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น

    การดูแล

    ควรช่วยให้ผู้ป่วยได้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้นอนหงายบ้าง ตะแคงซ้าย ตะแคงขวาบ้าง หรืออาจจะให้นอนคว่ำบ้างก็ได้      แต่ควรต้องระวังพอสมควร และนอกจากนี้ก็อาจมีการซื้อเตียงนอนเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงมาใช้โดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างสบายขึ้นและป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อีกด้วย

  2. การรับประทานหากให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงนอนกิน อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักได้ และที่แย่ก็คืออาจทำให้มีเศษอาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งถ้าหากเป็นเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจทำให้ไปอุดหลอดลมจนกระทั่งขาดอากาศหายใจได้เลยทีเดียว

    การดูแล

    เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักจึงไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอย่างเด็ดขาด ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารจึงควรจับผู้ป่วยให้นั่งตัวตรง โดยพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากกินอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้ป่วยได้นั่งอยู่ในท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อนสัก 1 – 2 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยให้นอนลง

  3. ผู้ป่วยเจาะคอผู้ป่วยที่เจาะคอใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ อาจทำให้มีเสมหะไปอุดตันอยู่ในภายในท่อได้ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจึงควรที่จะล้างท่อให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 1 – 2 วัน และเนื่องจากท่อช่วยหายใจจะมีท่อในกับท่อนอก  จึงควรที่จะมีท่อในสำรองเอาไว้เปลี่ยน เพื่อที่จะนำท่อในออกมาล้างทำความสะอาด โดยวิธีต้มฆ่าเชื้อด้วยน้ำต้มสุก
  4. การขับถ่ายการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกายของผู้ป่วยนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลจึงควรที่จะเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ และหากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่นข้น หรือผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันทีเพื่อเปลี่ยนสายสวน ไม่ควรปล่อยไว้นานๆ โดยชะล่าใจเด็ดขาด
  5. ใส่แพมเพิร์สหากผู้ดูแลปล่อยให้ผู้ป่วยที่ใส่แพมเพิร์สนอนจมกองอุจจาระปัสสาวะ ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจึงควรที่หมั่นเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าตนเองมีการขับถ่าย ผู้ดูแลก็ควรที่จะเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการคอยตรวจเช็คและเปลี่ยนแพมเพิร์สให้กับผู้ป่วยอยู่เสมอนั่นเอง

    วิธีต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเป็นวิธีเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งจะมีรายละเอียดในการดูแลที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของความเจ็บป่วย แต่อย่างไรก็ตาม ความใส่ใจและเข้าใจผู้ป่วยก็คือสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเป็นภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างหนักซึ่งผู้ดูแลอาจจะรู้สึกเหนื่อยและเครียดก็ตาม แต่หากไม่คิดว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งแต่ทำด้วยหัวใจแล้ว เชื่อว่าผู้ป่วยก็จะให้ความร่วมมือด้วยและทำให้เรารู้สึกเหนื่อยน้อย  ลงได้

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : https://www.honestdocs.co/how-to-cure-rehabilitate-patients-with-extra-beds
Call Now Button